วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

จดหมายข่าว

ฉบับที่ ๒๖ ปีที่ ๖ ประจำเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๕๒

รับลมหนาวบนดอยเชียงดาว ชาวพม.ประชุมแผนปฏิบัติงานประจำปี 2553

        หน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 13 หน่วยงาน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการบูรณาการแผนปฏิบัติประจำปี 2553 ณ นิคมดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 4-5 พ.ย. 2552 ที่ผ่านมา
          โดยมีนายชุมพร แสงมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้มาเป็นประธานในการกล่าวเปิดงานและให้หลักคิด (AFP) ในการทำงาน (โดย A=Area คือ พื้นที่ทำงาน, F=Function คือ ภารกิจที่จะทำ, P=people/participation คือ กลุ่มเป้าหมาย/การมีส่วนร่วม) จากการประชุมสามารถสรุปสาระสำคัญ ได้เป็น 3 ประเด็น คือ 1) การคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบจำนวน 3 ตำบล 2) กิจกรรมบูรณาการ ร่วมของแต่หน่วยงานในพื้นที่ และ3) แนวทางการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการติดตามประเมินผลโครงการในพื้นที่
การคัดเลือก ตำบลต้นแบบ3ตำบลในการที่หน่วยงานทั้ง13หน่วยงานจะลงไปทำงานร่วมกันกับหน่วยงานในพื้นที่ (อปท) ให้บูรณาการแผนการทำงานร่วมกัน ไม่ต่างคนต่างทำ ต้องร่วมกันทำงานและร่วมติดตามประเมินผลนับเป็นมิติใหม่ที่หน่วยราชการจะบูรณาการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กลุ่มเป้าหมายกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ เขตตรวจราชการที่ ๑๕ (ชม. มส. ลป. ลพ.)ร่วมประชุมกลุ่มจังหวัดครั้งที่ ๑ เพื่อให้หน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) ศูนย์พัฒนาสังคม(ศพส.) สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑๐ (สสว.๑๐) และหน่วยงานของ พม. ประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลของโครงการ พร้อมแนวทางวิธีการจัดการความเสี่ยง(Project Review) ผู้ตรวจราชการกระทรวง (นายสมชาย เจริญอำนวยสุข) เป็นประธานการประชุมกลุ่มจังหวัดเขตตรวจราชการที่ ๑๕ ระหว่างวันที่ ๒๖-๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ณ โรงแรมฮอลิเดย์ การ์เด้น เชียงใหม่ ในวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์และประเมิน ความเสี่ยงและหามาตรการรองรับในการลดความเสี่ยงของแผนงาน/โครงการพร้อมข้อเสนอแนะทั้งเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการกับหน่วยรับตรวจและส่วนกลาง และเพื่อให้ผู้ตรวจราชการสามารถประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน หรือการจัดทำ ภารกิจของหน่วยงานในพื้นที่ตามเขตตรวจราชการส่วนภูมิภาค ๑๘ เขต ส่วนกลาง(พม.) ๑ เขต รวม ๑๙ เขต

บทความ

           จดหมายข่าว (สสว.10) ขออนุญาตนำอนุญาตนำผลการศึกษา สรุปผลการศึกษากลุ่ม ด้านสังคมจิตวิทยา เรื่อง “คนไทยที่ปรารถนา” ของสำนักงานคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม ซึ่งเป็นองค์กรภาคเอกชน มีศิษย์เก่า วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรวมตัวขึ้นเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมในด้านวิชาการ ได้ระดมความคิดเห็นความรู้ และประสบการณ์จากบุคลากร ที่เกี่ยวข้อง ทำการศึกษาปัญหาที่สำคัญของชาติ เพื่อให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบาย ในระดับยุทธศาสตร์ชาติ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม ได้ทำการศึกษา เรื่อง “คนไทยที่ปรารถนา” ได้ข้อสรุปของการศึกษาจึงเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานที่จะนำ ยุทธศาสตร์ในการสร้างคนไทยที่ปรารถนา ประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ดังนี้

1.ปัญหา

     นิสัย ค่านิยม ความประพฤติบางประการในหมู่คนไทย เป็นเพื่อนฐานที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความแตกแยกในสังคมไทย ทั้งในชีวิตประจำวันและในทางการเมือง ส่งผลให้เมืองไทยมีความน่าอยู่น้อยลง

2.ข้อเท็จจริง

ค่านิยม ความประพฤติเฉพาะที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาในข้อ 1 มีดังนี้

2.1 ไม่ชอบปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท (Ruler) ได้แก่ การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ, ไม่มีระเบียบวินัย, ซื้อสิทธิขายเสียง, ตั้งกฎหรือมาตรฐานของแต่ละคนขึ้นมาเป็นบรรทัดฐาน, ชอบตามกระแส, ใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย, ไม่ตรงต่อเวลา, ไม่รักษาคำพูด ไม่มีสัจจะ, ใช้อารมณ์ไม่ชอบใช้เหตุผล เป็นต้น

2.2 ไม่เคารพสิทธิของผู้อื่นและไม่รักษาสิทธิของตนเอง (Rights) ได้แก่ การขาดความเกรงอกเกรงใจผู้อื่น (Care and Considerations) หรือขาดการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Considerations for Others) , เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น , เห็นแก่ตัว , ไม่รักษาสิทธิของตน เป็นต้น

2.3 ขาดความรับผิดชอบ (Responsibility) ได้แก่ ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน, ละเมิดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้อื่น เป็นต้น

2.4 บกพร่องในเรื่องคุณธรรม (Moral) ได้แก่ ไม่ซื่อสัตย์สุจริต, เห็นแก่ตัวมากกว่าส่วนรวมหรือผลประโยชน์ของชาติ, วัตถุนิยม, ฟุ่มเฟือยไม่ประหยัด, ยกย่องคนมีเงินไม่ยกย่องคนดี, ขาดความอดทนความขยันหมั่นเพียร, ชอบความสำเร็จทางลัด เป็นต้น

2.5 บกพร่องในเรื่องจริยธรรม (Ethics) ได้แก่ การไม่ปฏิบัติตามคำสอนของศาสดาเพราะไม่เข้าใจในแก่นแท้ของศาสนา (โดยเฉพาะชาวพุทธ) และการไม่รักษาจรรยาบรรณของอาชีพตน

2.6 นอกจากนี้แล้ว ยังมีปัญหาอื่น ๆ ที่แม้มิได้ก่อก่อให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกในหมู่คนไทย แต่เป็นก็สาเหตุทำให้เอกลักษณ์ความเป็นไทยอันดีงามเสื่อมทรามลง ได้แก่ ภาษาวิบัติ , ไม่เคารพผู้อาวุโส , ขาดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ , อาฆาตมาดร้ายไม่รู้จักการให้อภัย , หลงใหลวัฒนธรรมตะวันตก , ไม่มีสัมมาคารวะ , ไม่มองการณ์ไกล , ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น , ชอบหน้าใหญ่ใจโต , ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ , ไม่ชอบเห็นใครดีกว่าตน , รักสนุกแบบไม่มีขีดจำกัด , ไม่ชอบทำงานเป็นทีม เป็นต้น

3.ข้อพิจารณา

3.1 การที่คนไทยส่วนหนึ่งมีนิสัย ค่านิยม และความประพฤติอันไม่พึงปรารถนาในข้อ 2 นั้น เกิดจากการขาดการอบรมในเรื่องดังกล่าว และเมื่อประพฤติผิดก็ไม่มีผู้ว่ากล่าวตักเตือน หรือ ลงโทษ และนอกจากนั้นบางครั้งค่านิยมของคนส่วนใหญ่กลับเห็นผิดเป็นชอบอีกด้วย

3.2 ประเทศไทยในปัจจุบันปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน เป็นการปกครองตนเอง โดยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และมีกฎหมายอื่น ๆ ระเบียบ ข้อบังคับ กติกา มารยาทต่างๆ ไว้ให้ปฏิบัติตาม การปฏิบัติตามกฎ จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำรับการเป็น พลเมืองดี (Good Citizens) ในระบบประชาธิปไตย คนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ คือคนที่ยังปกครองตนเองไม่ได้ จะต้องถูกผู้รักษากฎหมายในทุกมิติกำกับดูแลอย่างเข้มงวด และลงโทษเพื่อให้ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท ของสังคม เช่นเดียวกับผู้อื่น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเสมอภาคกัน

3.3 ในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนไทยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในมติต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ เช่น ในเรื่องของการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการแสดงความเป็นคน สิทธิในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในทรัพย์สิน เป็นต้น การเคารพในสิทธิของผู้อื่น เพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกัน และการรู้จักรักษาสิทธิของตนเองจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงกระทำ

3.4 ในสังคมที่ปกครองตนเองได้ คนในสังคมทุกสาขาอาชีพต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบโดยเฉพาะต่อหน้าที่ของตน ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปว่า บุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ ขาดการเป็น “มืออาชีพ” ในหน้าที่ความรับผิดชอบของตน ทำให้ทุกภาคส่วนขาดประสิทธิภาพ และสร้างความผิดหวังให้แก่ลูกค้า แก่ผู้รับบริการ หรือแก่สังคม ที่คาดหวังความเป็นมืออาชีพจากบุคคลเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะขาดการตระหนักในหน้าที่รับผิดชอบเป็นหัวใจสำคัญ

3.5 คุณธรรม เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขและนำไปสู่การมีความสมัครสมานสามัคคีกัน ซึ่งในท้ายที่สุดนำไปสู่ความสำเร็จของหมู่คณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้พระราชทานบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาลัยเกษตรศาสตร์ วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2517 ความว่า “ความสามัคคีพร้อมเพียงกันเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิบัติบริหารงานใหญ่ๆ เช่น งานของแผ่นดิน และความสามัคคีจะเกิดขึ้นมั่นคงได้ ก็ด้วยบุคคลในคณะมีคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวผูกพันจิตใจของกันและกันไว้”

     ในประเทศอังกฤษได้มีการปลูกฝังคติธรรมของคนอังกฤษซึ่งทำกันตั่งแต่เด็ก 7 ประการ คือ สัจจะพูดความจริง (Truth) , ความซื่อสัตย์สุจริต (Honesty) , ความระลึกในหน้าที่ (Sense of Duty) , ความอดกลั้น (Patience) , ความเป็นธรรม (Fair Play) , การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Consideration for Others) และความเมตตาธรรม (Kindness) ซึ่งทั้ง 7 ประการนี้ทำให้เกิด Integrity คือ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม

       ในประเทศไทย นั้น “ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี นั้น เป็นปรัชญาที่เน้นเรื่องการปฏิบัติบน “ ทางสายกลาง ” ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน คือ ความพอประมาณ , ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นมีเงื่อนไข 2 ประการ คือ ต้องอาศัย “ ความรู้ ” และ “ คุณธรรม ” เป็นพื้นฐาน

       เงื่อนไข “ คุณธรรม ” ที่ต้องเสริมสร้างมี 7 ประการ คือ การตระหนักในคุณธรรม , ความซื่อสัตย์สุจริต , ความอดทน , ความเพียร , การใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต , ความไม่โลภ , ความไม่ตระหนี่ คุณธรรมทั้ง 7 ประการนี้ ควรสร้างให้มีขึ้นในคนไทยทุคน เพื่อนำไปสู่ความสามัคคีของคนในชาติ และนำไปสู่ความสำเร็จในทุกด้าน รวมทั้งควาสุขสงบร่มเย็นของสังคมไทย

3.6 ในด้านจริยธรรมนั้น พื้นฐานประการสำคัญที่สุดที่เป็นรากฐานให้แก่นิสัย ค่านิสัย ค่านิยมและความประพฤติที่ดี รวมทั้งการมีคุณธรรม ก็คือ การมีความรู้ความเข้าใจในแก่นแท้ของศาสนาตน และการปฏิบัติตนให้บรรลุแก่นแท้นั้นให้ลึกซึ้งที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ สังคมไทยทุกวันนี้คนไทยห่างศาสนามากขึ้นทุกที ๆ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ (และโดยเฉพาะชาวพุทธ) ตามความเจริญทางด้านวัตถุมากขึ้นและยังทำให้จิตใจอ่อนแอไม่สามารถรักษาจรรยาบรรณของอาชีพตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปลูกฝังจริยธรรมจริงจังด้วยวิธีที่สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องกระทำ

3.7 จากข้อพิจารณาในข้อ 3.2 ถึงข้อ 3.6 คนไทยทั้งเด็กและผู้ใหญ่จึงควรได้รับการอบรมและการเข้มงวดกวดขันในเรื่องที่คนไทยยังขาดอยู่ ซึ่งเป็นบ่อเกิดขิงความขัดแย้ง ความแตกแยกในสังคมไทย คือการปฏิบัติตามกฎ (Rules) , การเคารพในสิทธิของผู้อื่นและการรักษาสิทธิของตนเอง (Righs) , การมีความรับผิดชอบ (Responsibility) , การมีคุณธรรม (Moral) และการมีจริยธรรม (Ethics) เพื่อให้มีคุณลักษณะเป็น “ คนไทยที่ปรารถนา ”

3.8 นอกจากนี้ ในปัจจุบันเอกลักษณ์ของความเป็นไทย กำลังเสื่อมทรามลง เช่น ในด้านการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีเมตตากรุณาต่อกัน การให้อภัยการมีสัมมาคารวะ การไปหลงใหลวัฒนธรรมต่างชาติทั้งประเทศตะวันตกและประเทศตะวันออกด้วยกัน เป็นต้น ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข

4.ข้อเสนอแนะ

4.1 “ คนไทยที่ปรารถนา ” ก็คือคนไทยที่มีนิสัยค่านิยม และความประพฤติดังนี้ คือ

1) ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท โดยเคร่งครัด (Rules)

2) เคารพในสิทธิของผู้อื่น และรักษาสิทธิของตนเอง (Rights)

3) มีความรับผิดชอบ (Responsibility)

4) มีคุณธรรม (Moral) 7 ประการ ตามเงื่อนไขคุณธรรมในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ( การตระหนักในคุณธรรม , ความซื่อสัตย์สุจริต , ความอดทน , ความเพียร , การใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต , ความไม่โลภ , ความไม่ตระหนี่ )

5) มีจริยธรรม (Ethics) รู้และเข้าใจแก่นแท้ของศาสนา และปฏิบัติตามคำสอนของศาสดา (ถ้าเป็นพุทธมามกะก็คือถือศีล 5 เป็นอย่างน้อย) และรักษาจรรยาบรรณของอาชีพตน

6) ดำรงรักษาเองลักษณ์ความเป็นคนไทย ด้วยการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง (โดยเฉพาะการใช้ ร.เรือ ล.ลิง คำควบกล้ำ การออกเสียงให้ตรงวรรณยุกต์ การไม่ร้องเพลงไทยสากล ด้วยการออกเสียงแบบฝรั่ง เป็นต้น) และเป็นคนโอบอ้อมอารีมีน้ำใจต้อนรับขับสู้ (Hospitality) เอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นต้น

4.2 ในการสร้างคนไทยที่ปรารถนา ทั้งในระดับเยาวชนและผู้ใหญ่นั้น ควรใช้สื่อกลาง 6 ประเภท ต่อไปนี้อย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ทั้งในเมืองใหญ่และในชนบท คือ

1) สถาบันครอบครา (บ้าน)

2) สถาบันการศึกษา (โรงเรียน)

3) สถาบันศาสนา (วัด โบสถ์ มัสยิด)

4) สถาบันชุมชน (สถาบันหลักที่กล่อมเกลาทางสังคมแก่บุคคลที่อยู่นอกวัยการศึกษา)

5) สถาบันวิชาชีพ (ควบคุมความประพฤติของบุคลากรในกลุ่มวิชาชีพของตนเอง)

6) สถาบันสื่อมวลชน (ควบคุมจรรยาบรรณเสื่อมมวลชนในสังกัด และเสนอข่าวสารที่ถูกต้อง)

4.3 การสร้าง “ คนไทยที่ปรารถนา ” ตามข้อ 4.1 ควรถือเป็น “ วาระแห่งชาติ ” เป็นภารกิจเร่งด่วนที่ทุกรัฐบาล และสื่อกลางทั้ง 6 ประเภท ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจริงจัง โดยกำหนดเป็นเป้าหมายระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว และให้มีองค์กรที่รับผิดชอบในการสร้าง “ คนไทยที่ปรารถนา ” โดยตรง เพื่อให้เป็นผู้บูรณาการทุกภาคส่วนที่รับผิดชอบในการสร้าง “ คนไทยที่ปรารถนาในขอบเขตของแต่ละภาคส่วนนั้น ๆ ” ( เช่นสื่อกลางทั้ง 6 ) เข้าด้วยกัน

4.4 นอกจากการสั่งสอนอบรมแล้ว กุญแจสำคัญยิ่งในการตรวจสอบเพื่อให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตนออกไปนอกกรอบของ “คนไทยที่ปรารถนา” ก็คือสถาบันผู้รักษากฎหมายในมิติต่าง ๆ เช่น ปปช. , สังคมงานตำรวจแห่งชาติ , กกต. , กรรมสรรพากร , กรมป่าไม้ , กรมการศาสนา และสถาบัน สื่อมวลชน เป็นต้น สถาบันเหล่านี้จะต้องรักษากฎหมายอย่างเข้มงวด เคร่งครัด เสมอภาคและยุติธรรมซึ่งจะทำให้คนไทยลดความขัดแย้งซึ่งกันและกันลงได้ เพราะทุกคนประพฤติปฏิบัติตนเหมือน ๆ กัน (ทั้งโดยสมัครใจ หรือ โดยถูกผู้รักษากฎหมายบังคับ)จากความสำคัญของสถาบันผู้รักษากฎหมายดังกล่าวแล้ว ควรได้มีการปรับปรุง หรือปฏิรูปสถาบันผู้รักษากฎหมายทั้งหลาย ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่ร่วมสร้าง “คนไทยที่ปรารถนา” ได้อย่างมีประสิทธิผล

4.6 ควรมีการปรับปรุงสื่อกลางทั้ง 6 ประเภท ให้คุณสมบัติเหมาะสมที่จะรับผิดชอบ เป็นสื่อในการสร้าง “คนไทยที่ปรารถนา” ในวัยต่าง ๆ เช่น

วัยเด็กเล็ก – บ้าน โรงเรียน ชุมชน เป็นหน่วยรับผิดชอบ

วัยเรียน – บ้าน โรงเรียน ชุมชน สถาบันศาสนา สื่อมวลชน เป็นหน่วยรับผิดชอบ

วัยทำงาน – ชุมชน สถาบันศาสนา กลุ่มวิชาชีพ สื่อมวลชน เป็นหน่วยรับผิดชอบ เป็นต้น

4.7 ในยุคปัจจุบัน สถาบัน “สื่อมวลชน” เป็นสื่อกลางที่สำคัญที่สุดและมีบทบาทสูงสุดในการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้แก่ประชาชนในทุกระดับชั้นและทุกเพศวัย สื่อมวลชนมีอิทธิพลสูงต่อการปรับเปลี่ยนนิสัย ค่านิยม และความประพฤติของประชาชน จึงมีความจำเป็นที่องค์กรรับผิดชอบ สื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญต่อการควบคุมจรรยาบรรณสื่อมวลชนในสังกัด ให้เสนอข่าวสารที่ถูกต้องและเป็นกลางต่อประชาชน รวมทั้งให้ความร่วมมือต่อรัฐในการสร้าง “คนไทยที่ปรารถนา” อย่างแข็งขัน เพื่อนำพาประเทศไปสู่อนาคตที่ดีกว่าปัจจุบัน

4.8 การสร้าง “คนไทยที่ปรารถนา” อาจกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ เพื่อให้สื่อทั้ง 6 ได้ดำเนินการต่อประชาชน ดังนี้

(1) ยุทธศาสตร์การสร้างวินัยพื้นฐาน มีแนวคิดที่จะปลูกฝังความมีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาทให้แก่ประชาชนทุกเพศวัย ประกอบด้วย โครงการต่าง ๆ เช่น โครงการให้รู้จักการเข้าคิว โครงการปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นต้น

(2) ยุทธศาสตร์การสร้างจิตสำนึกสาธารณะ มีแนวคิดที่จะปลูกฝังการเคารพในสิทธิของผู้อื่น และรู้จักรักษาสิทธิของตนเอง รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนไม่ละเมิดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้อื่น

(3) ยุทธศาสตร์การสร้างชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง / ปลูกฝังหัวใจคุณธรรม มีแนวคิดที่จะสร้างให้คนในชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ และมีคุณธรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเมื่อชุมชนไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น มีคุณธรรม และมีเศรษฐกิจดีท้องอิ่มแล้ว ก็จะง่ายต่อการปลูกฝังประชาธิปไตย ยินดีปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท และที่สำคัญ คือประชาชนจะไม่ขายเสียง ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาการเมืองไทยตั่งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา นอกจากนี้การมีคุณธรรมจะนำไปสู่ความสามัคคีและการทำงานเป็นทีม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของชุมชนอีกต่อหนึ่ง

(4) ยุทธศาสตร์การใช้สื่อมวลชนเพื่อสร้างคนไทยที่ปรารถนา มีแนวคิดที่จะให้สื่อมวลชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันของตน ในการกำหนดทิศทางของประเทศด้วยการร่วมกันสร้างคนไทยที่ปรารถนา และให้องค์กรควบคุมสื่อได้เข้มงวดในการควบคุมการปฏิบัติของร่วมกันสร้างคนไทยที่ปรารถนา และให้องค์กรควบคุมสื่อได้เข้มงวดในการควบคุมปฏิบัติของสื่อมวลชนในสังกัด ได้ปฏิบัติอยู่ในกรอบของจรรยาบรรณของวีชาชีพตน และเสนอข่าวสารที่ถูกต้องเที่ยงตรง

(5) ยุทธศาสตร์พิทักษ์เอกลักษณ์ไทย มีแนวคิดที่จะพิทักษ์เอกลักษณ์ไทย โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ภาษาทั้งในการพูดและเขียนอย่างถูกต้อง การรักษานิสัยประจำชาติไทย ที่เป็นคนมีสัมมาคารวะเคารพผู้อาวุโสกว่า มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตากรุณา รู้จักให้อภัย เป็นต้น

      ยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ข้างบนนี้เป็นเพียงตัวอย่างของยุทธศาสตร์ในการสร้าง “คนไทยที่ปรารถนา” ซึ่งยังยังมีเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ “การทำงานเป็นทีม” ซึ่งโดยปกติแล้วมิใช่นิสัยประจำชาติของคนไทย แต่ก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ควรมีการศึกษาอย่างลึกซึ้ง ว่าทำอย่างไรจะให้คนไทยสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกเหนือจากผลที่ได้จากการปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถสร้างความสามัคคีในชุมชน และสร้างการทำงานเป็นทีมได้ในระดับหนึ่ง

4.9 หน่วยงานและสถาบันที่ควรมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในการบูรณาการสร้าง “ คนไทยที่ปรารถนา ” ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ , กระทรวงมหาดไทย , กระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , กระทรวงวัฒนธรรม , กระทรวงยุติธรรม , สำนักงานตำรวจแห่งชาติ , กรมการศาสนา , สำนักงานเอกลักษณ์แห่งชาติ , ราชบัณฑิตยสถาน , สถาบันสื่อมวลชน , NGO และองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

สวัสดิการชุมชน เรียบเรียงโดยรุ้ง สสว๑๐

ความเป็นมา
           สังคมไทยมีลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูล มีชุมชนเป็นศูนย์กลาง มีศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นที่พึ่งพาในการแก้ปัญหา เป็นระบบสวัสดิการชุมชนแบบธรรมชาติ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเกื้อกูล เคารพซึ่งกันและกันระหว่างคนกับคน และคนกับธรรมชาติ ต่อมารัฐบาลกลางมีบทบาทในการจัดสวัสดิการซึ่งช่วงแรกเป็นการจัดให้เฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์ตามระเบียบหลักเกณฑ์ของหน่วยงานโดยมีนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้พิจารณา สู่การจัดสวัสดิการที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้นเช่น ให้แรงงานในระบบสามารถได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึงตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม ในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตบริษัทเอกชนได้มีบทบาทในการประกันด้านต่างๆมากขึ้นมีระบบการประกันรูปแบบต่างๆอย่างหลากหลายซึ่งผู้ที่สามารถเข้าถึงก็เป็นกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงรายได้สูจนกระทั่งเมื่อประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้หันมาทบทวนเรื่องระบบโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม ที่มีอยู่ในสังคมไทยก็พบว่ามีความเป็นเครือญาติ ชุมชน ทุนทางสังคมในด้านต่าง ๆ สามารถช่วยรองรับแรงกระทบจากภายนอกได้เป็นอย่างดี การจัดสวัสดิการโดยชุมชนที่มีฐานจากกิจกรรมการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น องค์กรการเงิน วิสาหกิจชุมชน หลักการทางศาสนา การจัดการทรัพยากรฯลฯ เป็นทางเลือกสำคัญที่จะช่วยทำให้เกิดความมั่นคงของชุมชนฐานราก ให้สามารถดำรงอยู่ในกระแสโลกาภิวัฒน์ได้อย่างมีศักดิ์ศรี สามารถยืนหยัดเป็นตัวของตัวเอง ลดการพึ่งพาภายนอก โดยในปีพ.ศ. ๒๕๔๒¬-๒๕๔๓กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคมได้สนับ โดยที่ชุมชนเป็นผู้ร่วมกันกำหนดความความหมายว่า ใครคือผู้ยากลำบาก มีการจัดทำข้อมูลกลั่นกรองพิจารณาการให้ความช่วยเหลือโดยชุมชนทำให้เกิดเครือข่ายในการจัดสวัสดิการประมาณ 500 เครือข่าย สามารถดูแลกลุ่มเป้าหมายผู้อยากลำบากในรอบแรกได้ 538,414 ราย ทั้งในส่วนของผู้สูงอายุ ผู้ติดเชื้อเอดส์ คนพิการ เด็ก ผู้ยากไร้ ฯลฯ ใช้งบประมาณ 2,017 ล้านบาท ซึ่งใช้ทั้งเป็นงบสงเคราะห์ช่วยเหลือแบบให้เปล่า จัดเป็นกองทุนหมุนเวียน และกองทุนสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มีอยู่เดิม หลังจากที่ได้ดำเนินการไปแล้วมีเงินทุนที่ยังคงหมุนเวียนอยู่ในชุมชนประมาณ ๗๐๐ล้านบาท ต่อมาชุมชนเกิดการตื่นตัวในการจัดสวัสดิการชุมชนอย่างกว้างขวางจึงฟื้นฟูแนวทางการจัดสวัสดิการบนฐานทุนของชุมชนได้แก่การใช้องค์กรการเงินกลุ่มออมทรัพย์เป็นฐานเช่นกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์นำผลกำไรมาจัดสวัสดิการ ตัวอย่างเช่น ศูนย์รวมน้ำใจธนาคารหมู่บ้าน

            จ.พะเยา เป็นต้น วิสาหกิจชุมชนเป็นการผลิตเพื่อลดการพึ่งพาภายนอกเพิ่มมูลค่าผลผลิต ใช้ผลกำไรและการลดรายจ่ายมาเป็นสวัสดิการ ตัวอย่างเช่นในพื้นที่ ต. เขาคราม จ. กระบี่ การจัดสวัสดิการฐานทรัพยากรธรรมชาติ ชุมชนเป็นผู้จัดการป่า ชายฝั่งแหล่งน้ำ ฟื้นฟูทรัพยากรให้อุดมสมบูรณ์ ทำให้มีความมั่นคงด้านอาหาร เช่น พื้นที่ทุ่งยาว จ.ลำพูน การจัดสวัสดิการฐานศาสนา การใช้หลักคำสอนทางศาสนาและผู้นำศาสนาทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม เป็นฐานด้านการจัดสวัสดิการทั้งทางกายและจิตวิญญาณ เช่น การใช้หลักซะกาตให้การดูแลคน 8 ประเภท เป็นต้น ต่อมาเมื่อปี๒๕๔๗ มีการ งบประมาณมาจากสามฝ่ายคือทุนที่มาจากการออมของสมาชิกในชุมชนทั้งในรูปแบบออมทรัพย์เดิม หรือสัจจะลดรายจ่ายวันละบาท การสมทบจากรัฐโดยผ่านช่องทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และการสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เกิดกองทุนสวัสดิการชุมชนอย่างกว้างขวางขึ้น ซึ่งในปีพ.ศ.๒๕๕๐รัฐบาลจัดงบประมาณสนับสนุนการขับเคลื่อนขยายการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลและสมทบงบประมาณในการจัดสวัสดิการชุมชนจะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม๒๕๕๒รัฐบาลชุดปัจจุบัน(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)ได้พิจารณางบประมาณสนับสนุนในปี๒๕๕๓จำนวน๗๒๗.๓ล้านบาทและยกระดับให้สวัสดิการชุมชนเป็นวาระแห่งชาติในหลักการสมทบ๑:๑:๑(ชุมชน:องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:รัฐบาล) ซึ่งมีหลักการสำคัญของสวัสดิการชุมชนดังนี้

มีต่อหน้าหล้ง………………

สวัสดิการชุมชนคืออะไร

สวัสดิการชุมชนคือการสร้างหลักประกันความมั่นคงของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการจัดการตนเอง การให้ความช่วยเหลือกันและกันฉันท์ญาติมิตร ให้ความรักความเอื้ออาทรต่อกัน ให้การดูแลเอาใจใส่กันและกันทำให้การจัดสวัสดิการชุมชนมิใช่แค่เพียงการช่วยเหลือทางการเงินเท่านั้นแต่สวัสดิการเป็นทั้งกำลังใจ กำลังทรัพย์และความรู้ เพื่อให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น

หัวใจของการจัดสวัสดิการชุมชนคืออะไร

หัวใจของการจัดสวัสดิการชุมชนคือการพึ่งตนเองและการช่วยเหลือเกื้อกูลเป็นกระบวนการของการให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี มีส่วนร่วม เป็นธรรมและเท่าเทียม

ผลของการจัดสวัสดิการชุมชนคืออะไร

ผลของการจัดสวัสดิการชุมชนคือการเกิดความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความรู้สึกมั่นคง ภาคภูมิใจ อยู่อย่างมีศักด์ศรี และมีความสุขทั้งกายและทางจิตใจ

รูปแบบกิจกรรมสวัสดิการชุมชนมีลักษณะอย่างไร

รูปแบบกิจกรรมสวัสดิการชุมชนมีหลากหลายได้แก่

๑)รูปแบบออมวันละบาทและกองบุญสัจจะวันละบาทเช่นกองทุนสวัสดิการชุมชนวันะบาทตำบลศรีสุทโธ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

๒)จากฐานองค์กรการเงินชุมชนและการบูรณาการกองทุนเป็นกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นมีเป้าหมายเพื่อจัดสวัสดิการได้มีการนำผลกำไรมาจัดสวัสดิการ เช่นเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์จังหวัดสงขลา เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์จังหวัดตราด เป็นต้น

๓) กองทุนสวัสดิการจากฐานทางศาสนาเป็นการจัดสวัสดิการที่ใช้คำสอนทางศาสนาและผู้นำทางศาสนา เช่นกองทุนซะกาตของศาสนาอิสลาม

๔)กองทุนสวัสดิการจากฐานกองทุนผู้สูงอายุโดยใช้เงินกองทุนเป็นเครื่องมือมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุคิด จัดการ และรับผลประโยชน์ เช่น โครงการสวัสดิการผู้งอายุจังหวัดลำปาง

๕)กองทุนสวัสดิการจากฐานการช่วยเหลือคนจนและผู้ด้อยโอกาส เป็นการเริ่มจากการแก้ไขปัญหาความยากจนต่อมาขยับสู่การจัดสวัสดิการเพื่อดูแลกันเช่นกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลแม่สลองนอกอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

๖) กองทุนสวัสดิการจากฐานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ใช้ป่าเป็นเครื่องมือในการจัดสวัสดิการชุมชนเช่นป่าชุมชนบ้านโคกพยอม อำเภอละงู จังหวัดสตูล

๗)กองทุนสวัสดิการชุมชนฐานชุมชนเมือง เป็นรูปแบบการจัดสวัสดิการที่เชื่อมโยงการจัดการเรื่องที่อยู่อาศํยเช่นสวัสดิการชุมชนบ้านมั่นคง เทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

๘)ขบวนการกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดเป็นรูปแบบการจัดการตนเองของชุมชนที่บูรณาการทุน องค์กรชุมชน จากหลายตำบลเป็นจังหวัด เช่นกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดสงขลา

หลักเกณฑ์การสนับสนุนงบประมาณกองทุนสวัสดิการชุมชนของรัฐบาลเป็นอย่างไร

การสมทบงบประมาณมาจากสามฝ่าย คือ ๑) ทุนที่มาจากการออมของสมาชิกในชุมชน ๒) การสมทบจากรัฐ ๓) การสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอัตรา ๑:๑:๑ โดยรัฐบาลจะจัดพิธีมอบงบประมาณสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนครั้งแรกที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันจันทร์ ที่ ๑๑ มกราคม

รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนการจัดสวัสดิการให้กับประชาชน โดยยกเป็นวาระแห่งชาติ และรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณไว้แล้ว ๗๒๗.๓ ล้านบาท ซึ่งการสมทบงบประมาณมาจากสามฝ่าย คือ ๑) ทุนที่มาจากการออมของสมาชิกในชุมชน ๒) การสมทบจากรัฐ ๓) การสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอัตรา ๑:๑:๑ โดยรัฐบาลจะจัดพิธีมอบงบประมาณสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนครั้งแรกที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันจันทร์ ที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ ซึ่งการที่จะได้รับการสมทบงบประมาณกองทุนสวัสดิการชุมชน มีเกณฑ์ ๕ ข้อ คือ

๑).เป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ประชาชนจัดตั้งขึ้นไม่ต่ำกว่า ๑ ปี ในพื้นที่ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล หรือระดับเทศบาล และผ่านการรับรองจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) หรือพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)

๒)มีสมาชิกไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ คน ซึ่งสมาชิก และผู้รับประโยชน์จากกองทุนต้องมีความหลากหลาย เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และสมาชิกกระจายพื้นที่ในตำบลและมีหมู่บ้าน/ชุมชน

เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งหมดในตำบล/ท้องถิ่น

๓)มีเงินกองทุนสวัสดิการชุมชนมาจากสมาชิก และได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับสวัสดิการชุมชนจากองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เงินสมทบ อาคาร สถานที่ วัสดุ เป็นต้น

๔)มีระบบการบริหารกองทุนที่ดีมีความชัดเจน ได้แก่ มีคณะกรรมการดำเนินงาน มีข้อมูลทะเบียนสมาชิก ระเบียบหลักเกณฑ์ของกองทุนระบบบัญชีการเงิน กองติดตาม ประเมินผลรายผลแผนการพัฒนาองค์กร

๕)มีการจัดสวัสดิการชุมชนไม่น้อยกว่า ๓ เรื่อง เช่น เกิด เจ็บ ป่วย ตาย ศึกษา อาชีพ

หากสนใจโปรดติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ทุกจังหวัด

__________________________________________________________________________

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

งานทอดผ้าป่าสามัคคีดอยสะเก็ด

     วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ ร่วมงานทอดผ้าป่าสามัคคีของกองทุนคนดอยสะเก็ด โดยมี
นายวิทัศน เตชะบุญ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นประธานในพิธีฝ่ายฆารวสและท่านเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ดท่านเจ้าคุณหลวงพ่อพระโพธิรังษี เจ้าคณะอำเภอดอยสะเก็ดเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีการไถ่ชีวิตโคจำนวน 10 ตัวและมอบให้เกษตรกรนำไปเลี้ยง และยังมีเวทีเสวนาวิชาการเรื่องสวัสดิการชุมชน พร้อมทั้งมอบผ้าห่มแก่ประชาชนด้วย

ร่วมประชุมงานสวัสดิการคนดอยสะเก็ด




วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ ร่วมประชุมแถลงข่าวการจัดงานทอดผ้าป่ากองทุนสวัสดิการคนดอยสะเก็ด
และร่วมเยี่ยมมอบทุนช่วยเหลือผู้ทุกขภาวะ สองครอบครัว ในเทศบาลเชิงดอย