วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กับ อพม

การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กับ อพม.
1.การพัฒนาสังคม หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ดีทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อประชาชนจะได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งด้านอาหาร ที่อยู่ การศึกษา สุขภาพอนามัย การมีงานทำ มีรายได้เพียงพอในการครองชีพ ประชาชนได้รับความเสมอภาค ความยุติธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วม ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทุกขั้นตอนอย่างมีระบบ
2. ความมั่นคงของมนุษย์ หมายถึง การที่ประชาชนได้รับหลักประกันด้านสิทธิ ความปลอดภัย การตอบสนองต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐาน สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ตลอดจนได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง งานอาสาสมัคร ถือว่า เป็นงานที่มีคุณค่าต่อสังคมและบุคคลที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครถือเป็นบุคคลที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญ
3. อาสาสมัคร หมายถึง บุคคลที่อาสาเข้ามาช่วยเหลือสังคมด้วยความสมัครใจ เสียสละ เพื่อช่วยผู้อื่นในการป้องกัน แก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
4. อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) คือ ผู้ที่อาสาสมัครเข้ามาปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ทุกมิติของความมั่นคงของมนุษย์ในชุมชน เพื่อพัฒนาให้ท้องถิ่นของตน อยู่ดีมีสุข พึ่งพาตนเองไปสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน
5. คุณสมบัติของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
1. ต้องเป็นคนในหมู่บ้าน / ชุมชน
2. บรรลุนิติภาวะ
3. รักท้องถิ่น เสียสละ มีอุดมการณ์
4. มีการศึกษา อ่านออก เขียนได้
5. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
6. มีความเมตตา เอื้ออาทร สนใจช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา
7. เชื่อมั่นในแนวคิด พึ่งตนเอง และสนใจใฝ่รู้ในทุกเรื่อง
6. การพ้นสภาพ
1. ตาย
2. ลาออก
3. มีมติให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสียหาย
7. การจัดการเครือข่าย อพม.

1.ขอจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์เพื่อเป็นกลไกเชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาครัฐกัประชาชนในท้องถิ่น
2. รวมตัวเป็นกลุ่ม / องค์กร / ชมรม เพื่อทำงานบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

8.ภารกิจของ อพม. คือ การเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยทำหน้าที่ สำรวจ หรือ รวบรวมข้อมูลในหมู่บ้าน / ชุมชน อาทิเช่น ข้อมูล จปฐ. ข้อมูล บก. 01 ข้อมูล สร. 01-06 ข้อมูล อปท. 1-2 ข้อมูลครอบครัว (สธ.) ข้อมูลฝ่ายปกครอง ฯลฯ โดยนำมาจัดรวบรวม เป็นข้อมูลทางสังคม (Social Family Folder) เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาหรือไม่ประสบปัญหา เพื่อนำไปสู่การดำเนินงาน ป้องกัน แก้ไข และพัฒนาสังคมให้อยู่ดีมีสุขแผนผังแสดงสถานการณ์ครอบครัวตามข้อมูลการจัดทำข้อมูลวางแนวทางพัฒนาคนทุกวัยในหมู่บ้าน / ชุมชนครอบครัวปกติ - ยกย่อง ชมเชย เป็นครอบครัวต้นแบบเด็ก / เยาวชน / ลูก - พัฒนาสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ และจริยธรรม คุณธรรม
พ่อ – แม่ - ต่อยอดอาชีพ และสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมปู่ย่าตายาย - ถ่ายทอดความรู้ให้ลูกหลาน (ภูมิปัญญา)อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เป็นปูชนียบุคคลคนพิการ / ด้อยโอกาสในครอบครัว - พัฒนาส่งเสริมศักยภาพชุมชน ดูแลให้สวัสดิการให้การยอมรับให้โอกาสในการทำงานประกอบอาชีพคนเร่ร่อน / ไร้บ้านไม่มีญาติพี่น้อง - ให้ความเอื้ออาทร ห่วงใย ชุมชน ดูแลกันและกัน หรือ ส่งต่อขอความผู้ช่วยเหลือเมื่อเกินกำลังและผลักดันให้มี การจัดสวัสดิการชุมชนสร้างอุดมการณ์ชุมชนยึดคุณธรรม 4 ประการ (สังคมคุณธรรม) สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ประสานการดำเนินงานกับทุกเครือข่ายในชุมชน / หมู่บ้าน ตามแนวคิดของโครงการ อพม. เพื่อให้เกิดกลไก เชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาครัฐและประชาชน ท้องถิ่น รวมทั้งเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยใช้หลัก สังคหวัตถุ 4 และอิทธิบาท 4การพัฒนาสังคมที่เป็นรูปธรรม ต้องเกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมใช้ประโยชน์ของคนในชุมชน อพม. ต้องรู้จักวางแผนสังคม พัฒนาความคิด วางแผนชีวิต ช่วยเหลือชุมชน รู้ทันเทคโนโลยี บนพื้นฐาน ปรัชญา อพม. ที่จะเดินตามรอยพ่อ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและสังคมคุณธรรม

 

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

งานเวทีวิชาการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

              สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑๐ จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ สสว.๘และสสว.๙ ได้ดำเนินการจัดประชุมเวทีวิชาการพัฒนาสังคม ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๒)ณ หอประชุมสมเด็จย่า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๒๗-๒๙ เมษายน ๒๕๕๓ ในการจัดเวทีวิชาการ มีนักวิชาการ และนักวิจัยจากสถาบันด้านการพัฒนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิจัย และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แกนนำใน
                             ชุมชน   กรรมการเครือข่ายพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่รับผิดชอบ ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๘,๙,๑๐ ที่มีผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาเข้าร่วมประชุม จำนวน๔๐๐คน

     นายสุรเดช  ฉายะเกษตริน รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน 
 นางศิริรัตน์  อายุวัฒน์  หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์กล่าวรายงาน และ นาวาอากาศเอก ดร.ธงชัย อยู่ญาติวงศ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกล่าวต้อนรับหลังจากพิธีเปิดประธานมอบเกียรติบัตรให้แก่  กลุ่ม  เครือข่าย   และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรม ครั้งนี้

     ในการจัดงานเวทีวิชาการพัฒนาสังคม ๒๕๕๓ ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานเครือข่ายพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรูปแบบตลาดนัดความรู้สวัสดิการชุมชน (กาดก้อมฮอมผญ๋า) ที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนและภาคประชาสังคมในกระบวนการพัฒนา การค้นหาความต้องการสาเหตุของปัญหา แนวทางในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อนำไปเสริมสร้างศักยภาพของแต่ละชุมชนให้ร่วมกันพัฒนาวิถีชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน

ฟักข้าว สมุนไพรต้านมะเร็ง

        ฟักข้าว อยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระ ชาวปัตตานีเรียกขี้กาเครือ ภาคเหนือเช่นตากเรียกผักข้าว จังหวัดแพร่เรียกมะข้าวและที่ประเทศเวียดนามเรียกว่า แก็ก ฟักข้าวมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนพม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นพืชที่ชาวเวียดนามใช้ประกอบอาหารมาก ในชนบทมีปลูกกันเกือบทุกบ้าน โดยปลูกพาดพันไม้ระแนงข้างบ้านและเก็บเฉพาะผลสุกมาประกอบอาหารแต่เนื่องจากฟักข้าวให้ผลดีที่สุดในช่วงฤดูหนาว ชาวเวียดนามจึงใช้ประกอบอาหารในเทศกาลปีใหม่และงานมงคลสมรสเท่านั้น ผลฟักข้าวมีเปลือกหนา ผลสุกเนื้อในหนามีสีส้มภายในมีเยื่อสีแดงให้เมล็ดเกาะ เนื้อผลสุกกินได้ ที่ประเทศเวียดนามใช้เยื่อสีแดงและเมล็ด ซึ่งมีน้ำมันเป็นยา ฟักข้าว 1 ผลจะได้เยื่อสีแดงราว 200 กรัม เป็นพืชโตเร็ว ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากมาย แต่หากต้องการปลูกเป็นพืชสวนครัวคงต้องเตรียมพื้นที่มากหน่อย เพราะทั้งเถาและใบมีขนาดค่อนข้างใหญ่หากมีพื้นที่มากพอที่จะปลูกก็เพียงหากิ่งแก่ หรือจะเพาะเมล็ดก็ย่อมได้ รดน้ำให้ชุ่มชื้นสักพัก เมื่อออก รากจึงย้ายลงปลูกในที่ที่เตรียมไว้ค้างสำหรับฟักข้าวควรจะเป็นค้างที่มีขนาดใหญ่นิดหนึ่ง

       รศ.ดร.สุธาทิพย์ ภมรประวัติ ได้ เรียบเรียงไว้ในเอกสารวิชาการทางการแพทย์เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของฟักข้าวไว้ว่า ในประเทศไทยใช้ผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวเป็นอาหารซึ่งรสชาติเนื้อฟักข้าวเหมือนมะละกอ ลวกหรือต้มให้สุกหรือต้มกะทิจิ้มน้ำพริกกะปิ หรือใส่แกง ยอดอ่อน ใบอ่อนนำมาเป็นผักได้ นำมานึ่งหรือลวกให้สุกกินกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค ประเทศเวียดนามกินข้าวเหนียวหุงกับเยื่อเมล็ดผลฟักข้าวสุกเนื่องจากชาวเวียดนามเชื่อว่าสีขาวเป็นสีแห่งความตาย ข้าวสีส้มแดงจึงจัดเป็นมงคลต่องานเทศกาลต่าง ๆ ชาวเวียดนามเอาเยื่อสีแดงจากผลฟักข้าวสุกพร้อมเมล็ดมาหุงกับข้าวเหนียว ได้ข้าวสีส้มแดงมีกลิ่นหอม ต้องมีเมล็ดฟักข้าวติดมาในข้าวด้วยจึงถือว่าเป็นของแท้เยื่อเมล็ดของฟักข้าวมีปริมาณเบตาแคโรทีนมากกว่าแครอท 10 เท่า มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า และมีกรดไขมันขนาดยาวประมาณร้อยละ 10 ของมวล การกินเบตาแคโรทีนจากฟักข้าวพบว่าดูดซึมในร่างกาย ได้ดีเพราะละลายได้ในกรดไขมันดังกล่าว

     งานวิจัยในประเทศเวียดนาม ปัจจุบันมีผู้นำเยื่อเมล็ดนี้เป็นเครื่องดื่มอาหารเสริมจำหน่ายในต่างประเทศ ประเทศจีนใช้เมล็ดแก่ของฟักข้าวเป็นยามานาน กว่า 1,200ปี ใช้บำบัดอาการอักเสบบวม กลากเกลื้อน ฝีอาการฟกช้ำริดสีดวง แก้ท้องเสีย อาการผื่นคันและโรคผิวหนังติดเชื้อต่าง ๆ ทั้งในมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ การกินฟักข้าวเป็นยานั้น ใช้เมล็ดแก่บดแห้ง ส่วนการใช้ภายนอก ให้นำเมล็ดฟักข้าวบดแห้งผสมน้ำมัน หรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อยทาบริเวณที่มีอาการและใช้เยื่อเมล็ดแทนสีผสมอาหารงานวิจัยในประเทศจีนพบว่าโปรตีนจากเมล็ดมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ตับในหลอดทดลองเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของฤทธิ์ทางชีวภาพของเมล็ดฟักข้าว ถือว่าลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระ จึงมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็ง นอกจากนี้เมล็ดฟักข้าวเป็นส่วนผสมของยาแก้ปวดกล้ามเนื้อและคลาย กล้ามเนื้อในเครื่องยาจีนหลายตำรับ

            ประเทศเวียดนาม การวิจัยทางคลินิกที่มหาวิทยาลัยฮานอย พบว่าน้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ ในประเทศไทย มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลเกี่ยวกับสรรพคุณของเมล็ดฟักข้าว พบโปรตีน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญ ของเชื้อเอชไอวี-เอดส์ และยับยั้งเซลล์มะเร็ง     จดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว ส่วนงานวิจัย อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และต่างประเทศพบว่า เมล็ดแก่ของฟักข้าวมีโปรตีน มอร์มอโคลซิน-เอส และโคลซินิน-บี มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไรโบโซมซึ่งเป็นแหล่งผลิตกรด อะมิโน และต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง ซึ่งอาจนำไปใช้พัฒนาเภสัชภัณฑ์ได้ในวันข้างหน้า

      ประเทศญี่ปุ่นทำการวิจัยพบว่าโปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูทดลอง โดยลดการแผ่ขยายของหลอดเลือดรอบก้อนมะเร็ง และชะลอการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งดังกล่าว ในห้องทดลองน้ำสกัดผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการทำให้เซลล์แตกตาย ผลอ่อนฟักข้าวกินได้ ผลแก่ก็อุดมคุณค่า

       ลองหาพันธุ์มาปลูกให้เลื้อยเล่นหน้าบ้านจะได้กินเมื่อใจปรารถนา เป็นการสร้างสุขภาพป้องกัน
โรคร้ายได้อย่างดี

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 6 มิถุนายน 2551

จดหมายข่าวฉบับประจำเดือน เมย.มิย.53