วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ชนเผ่าปากาเกอะญอ










     ชนเผ่าปกาเกอะญอ(กระเหลี่ยง) ชนเผ่าที่รักษาป่าไม้ เมืองไทยถ้าไม่มีชนเผ่านี้ป่าไม้คงหมดไปจากเมืองไทยนานแล้ว จากการที่เข้าไปสัมผัสกับหมู่บ้านของปากาเกอะญอป่าไม้จะมีความสมบูรณ์ผิดกับชนเผ่าอื่นๆที่หาป่าแทบหาไม่เจอต้นไม่ใหญ่เลย คนไทยต้องขอบคุณที่เขาช่วยดูแลป่าไม้ให้เรา เช่นหมู่บ้านหินลาดใน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ชมชนที่ไม่รับเงินกองทุนเงินล้านที่รัฐมิบให้ แต่ตั้งกองทุนที่ได้จากการขายของป่าและนำมาเป้นทุนในการรักษาป่า เรียกกองทุนนี้ว่า กองทุนละลาย กองทุนที่ไม่เก็บสะสมแต่จะใช้ให้หมดไปทุกปี จะไม่มีการกู้ยืมแต่จะให้ฟรีแต่ต้องมาช่วยกันรักษาป่าทดแทน
ชนเผ่าปากาเกอะญอ(กระเหรี่ยง)เป็นชนเผ่าที่รักสงบ เป้นเผ่าที่รักษาป่า อยู่กับป่า ประเทศไทยเราถ้าไม่มีชนเผ่านี้ ป่าไม้ของไทยเราคงหมดไปจากเมืองไทยนานแล้ว ทุกวันนี้เมืองไทยยังมีป่าไม้อยู่จนทุกวันนี้ก็เพราะเขาเป็นผู้ดูแลให้เรา ถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าน้ที่เราเข้าไปสัมผัสล้วนแต่เป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์ ผิดกับชนเผ่าอื่นๆที่ป่าไม้รอบบ้านแทบจะหมดไปแล้ว เราควรที่จะขอบคุณที่คนปากาเกอะญอ ช่วยให้เรามีป่าไม้จนทุกวันนี้

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

“มหกรรมชนเผ่า 2554”


                                             
องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 9 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันชนเผ่าพื้นเมืองโลก    ชนเผ่าทั่วโลกมีการจัดงานเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ และเป็นที่ยอมรับกันว่าประเทศไทย               มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ชนเผ่าพื้นเมืองต่าง ๆ ได้รวมตัวกันเป็นเครือข่าย ในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ จนถึงปี 2550 ได้ประเทศจัดตั้งเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย (คชท) และประกาศให้มีวันชนเผ่าพื้นเมืองขึ้น อย่างเป็นทางการ จนได้มีการจัดงานวันชนเผ่าขึ้น   ทุกปี ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา และในครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 5 ของการจัดงาน โดยสำนักกิจการชาติพันธุ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมมือกับเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ องค์การบริการส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และภาคประชาชน ร่วมกันจัดงาน มหกรรมวิถีชีวิตชนเผ่า 2554 : ภูมิปัญญาชนเผ่า และเรื่องเล่าอัตลักษณ์ โดยมีชนเผ่า 36 กลุ่ม       จากทั่วประเทศเข้าร่วม การจัดงานครั้งนี้จงเป็นการสะท้อนถึงความร่ำรวยทางวัฒนธรรมของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี เพื่อเสริมสร้างการยอมรับสิทธิทางวัฒนธรรมและสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองที่นำเสนอวิถีชีวิตและคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อสังคม เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายเพื่อรวมพลังขับเคลื่อนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหา ที่สอดคล้องกับสิทธิทางวัฒนธรรมของชนเผ่าและเพื่อเสนอแนะแนวนโยบายด้านชนเผ่าพื้นเมือง ให้เป็นวาระแห่งชาติ ในการปฏิรูปประเทศ เป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคมที่ชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 36 กลุ่มในประเทศไทยและบางกลุ่มในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งตัวแทนชนเผ่าพื้นเมืองจากแคนนาดาที่ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกิจกรรมวิถีชีวิต การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงทางวัฒนธรรม เครื่องแต่งกาย การเสวนาทางวิชาการ ตลอดจน  การจัดแสดงนิทรรศการวิถีชนเผ่าพื้นเมืองและชาติพันธุ์ ต่าง ๆ

            การจัดงานครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายปกรณ์   พันธุ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นประธานเปิดงานร่วมกับข้าราชการระดับผู้ใหญ่พร้อมร่วมกิจกรรมดังกล่าว ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2554 ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดเชียงใหม่

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชาติพันธุ์ ชนเผ่า

วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔

องค์การบริหารส่วนตำบลกึ้ดช้าง ต.กึ้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ จัดงานเทศกาลท่องเที่ยวครั้งที่ ๓ ณ บริเวณสนามหน้าสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกึ้ดช้าง ซึ่งอยู่ห่างจากตัว อ.เมืองเชียงใหม่ ๖๔ กิโลเมตร ซึ่งมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย-ชาวต่างประเทศ เข้าชมงานอย่างคับคั่ง

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑๐ เชียงใหม่/กลุ่มงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ/กลุ่มงานเครือข่ายพัฒนา ได้เข้าร่วมงานกิจกรรมเทศกาลการส่งเสริมการท่องเที่ยงในครั้งนี้ พื้นที่ตำบลกึ้ดช้าง มี ๑๙๑,๔๐๖,๒๕ ไร่ มี ๘ หมู่บ้าน ๑.บ้านเมืองกึ้ด ๒.บ้านแม่ตะมาน ๓.บ้านสบก๋าย ๔.บ้านต้นขาม ๕.บ้านห้วยน้ำดัง ๖.บ้านทุ่งละคร ๗.บ้านป่าข้าวหลาม ๘.บ้านผาปู่จอม รวมจำนวนประชากร ๕,๐๓๗ คน มีสถานที่ท่องเที่ยว อาทิ ห้วยน้ำดัง กึ้ดแม่ตะมาน ปางช้างแม่ตะมาน ปางช้างแม่แตง โรงเรียนฝึกครวญช้างบ้านช้างไทย ปางช้างแม่แตงทัวร์ ปางช้างห้วยน้ำดัง ปางช้างป่าคา น้ำหยาดรีสอร์ท แก่งกึ้ด และน้ำตาห้วยสถาน ฯลฯ ทางเราจะมุ่งเน้นเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มรายได้ชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อแข่งขันกับแหล่งท่องเที่ยว อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ให้เป็นที่ร่ำลือในอนาครอันใกล้นี้ นายเสถียร ใจคำ นายก อบต. กึ้ดช้าง กล่าวทิ้งท้ายในการให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว (สสว.๑๐)

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ไฟไหม้พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

  เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๔ เกิดเหตุไฟไหม้พิพิธภัณฑ์ชาวเขาซึงปิดเพื่อปรับปรุงเพิ่งเสร็จ ไม่ทันได้เปิดทำการ ไฟ้ฟ้าลัดวงจรทำให้เกิดประกายไฟลุกไหม้ บริเวณชั้น๓ เสียหายทั้งหมด ซึงเป็นส่วนห้องฉายภาพวีดีทันศ์ สามร้อยแปดสิบรอบทิศ นับว่าโชคดีที่ส่วนของเก่าที่เป็นของเดิมยังคงอยู่ครบไม่ถูกไฟ้ไหม้ ทั้งหนังสือเอกสารที่อยู่ชั้น 4 ด้วยที่ไม่เป็นอะไร นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์มากที่ของเก่าไม่เสียหายเลย